วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณของน้ำใบเตย


สรรพคุณ
   ใบสด : ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ
   ต้นและราก : เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กษัยน้ำเบาพิการ

วีธีการทำน้ำใบเตย

ใบเตยหอม
ส่วนผสม
1. ใบเตยสด 3 ถ้วย
2. น้ำสะอาด 8 ถ้วย
3. น้ำตาลทราย 2 ถ้วย(สามารถลดปริมาณของน้ำตาลลงได้)
4. น้ำแข็ง

วิธีทำ
ใบ เตยสดที่ไม่แก่มากเก็บใหม่ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิมหรือน้ำเกลือ 10-15 นาที นำมาหันตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อต้มที่มีน้ำกำลังเดือด ต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก ใบเตยที่หั่นแล้วส่วนที่สองปั่นให้ละเอียด โดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ซึ่งมีสีเขียวและกลิ่นหอมลงในหม้อที่เติมน้ำตาลและกำลัง เดือด ชิมให้มีรสหวาน พอเดือดรีบยกลง เมื่อดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด

ชามะรุมใบเตย

ชามะรุมใบเตย  (Moringa & Pandanus leaf Tea)
สรรพคุณ  มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค   ใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า
มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูง

-  วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอท 3 เท่า
- วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้ม
-  แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสด
-  โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วย
-  ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
เตยหอม มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด  ลดความดันโลหิต  ลดอัตราการเต้นของหัวใจ  บำรุงหัวใจ  ช่วยลดอาการกระหายน้ำ และขับปัสสาวะ

วิธีใช้ : ใส่ชา 1 ซองลงในแก้ว เติมน้ำเดือดตั้งทิ้งไว้ให้ชาละลายออกมา ดื่มขณะอุ่นๆ
ส่วนประกอบหลัก : ใบมะรุม 80%   ใบเตย 20%

วิธีใช้ประโยชน์

ใบสดต้มกับน้ำดื่ม

ในสมัยก่อนคนไทยหุงข้าวด้วยหม้อดิน นิยมเอาใบเตยใส่ลงไปด้วยเพื่อความหอมของข้าวที่หุงหรือใช้รองก้นหม้อเวลานึ่งข้าวเหนี่ยวก็จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
ยังเอาไปปรุงรส กลิ่น
ส่วนใหญ่จะนำใบเตยสดมาคั้นน้ำตกแต่งสีและกลิ่นในอาหาร และใช้แทนสีเขียวได้ดี อาหารประเภทอื่นได้ เช่น ผสมวุ้น ตะโก้
ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมลอดช่อง ขนมขี้หนู ขนมหวานต่างๆ ข้าวเหนียว น้ำเชื่อม สำหรับห่อเนื้อไก่เพื่ออบ

ใบสดยังเป็นส่วนประกอบในการจัดดอกไม้ จัดแจกัน ตกแต่งโต๊ะอาหาร ใช้ดับกลิ่นเหม็นอับในบ้าน ในครัว ในโรงรถ ในรถลดกลิ่นอับ โดยการใช้ใบเตยสดและใบเตยตากแห้ง

วิธีทำดอกกุหลาบจากใบเตย และการทำดอกไม้จากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม
http://share.psu.ac.th/blog/padkmsharing/10209

ประโยชน์ของชา

ดื่มชามีประโยชน์
 
ชา (Camellia sinensis) เป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในโลกมานานกว่า 1,000 ปี งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ของชาเริ่มขึ้นประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ความรู้ตรงกันว่า ชาเขียวและชาอูหลง มีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มโพลีฟีนอล ( Polyphenol) และคาเทซิน (Catechin) ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
 
-          ทำให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง เพราะมีการกระตุ้นขบวนการขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกาย
-          ช่วยย่อยอาหารละลายไขมัน ป้องกันโรคกระเพาะอาหารที่เรื้อรัง
-          ช่วยป้องกันและลดคลอเลสเตอรอลได้ดี
-          สามารถป้องกันและต่อต้านขบวนการเกิดมะเร็ง (Anti carcinogenic)
-          สามารถป้องกันหรือลดความอ้วนได้ด้วยการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในลำไส้เล็ก
-          ช่วยชะลอความชราและบำรุงผิวพรรณ
-          ผลวิจัยยังพบอีกว่า การดื่มชาหรือเคี้ยวใบชาเป็นประจำจะช่วยรักษาเหงือกและป้องกันฟันผุได้
 
สรรพคุณเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ที่มีอยู่ในชาทุกชนิด แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ชา การดูแลต้นชาและเทคนิคการผลิตใบชา ดังนั้น ดื่มรสชา เลือกความหอม ตามสไตล์ที่คุณชื่นชอบ จึงจะได้ประโยชน์จากการดื่มมากที่สุด
 
ดื่มชาดี มีประโยชน์ ยิ่งดื่มมาก ยิ่งได้ประโยชน์มาก

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชาใบเตยกับโรคเบาหวาน

สรรพคุณของใบเตยที่คนรักสุขภาพไม่ควรมองข้าม ใบเตยนอกจากจะช่วยให้ชุ่มชื่นลดอาการกระหายน้ำได้แล้ว ยังช่วยบำรุงเกี่ยวกับหัวใจด้วย ผลงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชทางวิทยา พบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง
นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทดลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ปรากฎว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำ เป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุมชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยา เตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวานได้ ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดกระหายน้ำ และอาจใช้ตำพากรักษาโรคหัด โรคผัวหนัง
วิธีใช้
1. ใช้ใบสดตำ คั้นเอาน้ำ จะได้น้ำสีเขียวใช้นำมาผสมอาหาร จะใช้ให้อาหารมีสีสวย น่ารับประทานและมีกลิ่นหอมของใบเตย
2. ใช้ในรูปของใบชา ชงกับน้ำร้อน หรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือด เติมน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ ดื่มเป็นประจำช่วยบำรุงหัวใจ
3. นำส่วนต้นและราก ต้มกับเนื้อหรือใบไม้สัก จะช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ดีทีเดียวขอบอก

ที่มาของใบเตยหอม

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อวงศ์:  PANDANACEAE
ชื่อสามัญ:  Pandanus
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    ใบ  เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
    ดอก  เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
    ฝัก/ผล  ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  ปักชำลำต้น  หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ใบ
การใช้ประโยชน์:
     -    ไม้ประดับ
     -    สมุนไพร
     -    ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน  และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้า
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยนช์ของใบเตย

วิธีใช้ประโยชน์
ใบสดต้มกับน้ำดื่ม

ในสมัยก่อนคนไทยหุงข้าวด้วยหม้อดิน นิยมเอาใบเตยใส่ลงไปด้วยเพื่อความหอมของข้าวที่หุงหรือใช้รองก้นหม้อเวลานึ่งข้าวเหนี่ยวก็จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน
ยังเอาไปปรุงรส กลิ่น
ส่วนใหญ่จะนำใบเตยสดมาคั้นน้ำตกแต่งสีและกลิ่นในอาหาร และใช้แทนสีเขียวได้ดี อาหารประเภทอื่นได้ เช่น ผสมวุ้น ตะโก้
ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมลอดช่อง ขนมขี้หนู ขนมหวานต่างๆ ข้าวเหนียว น้ำเชื่อม สำหรับห่อเนื้อไก่เพื่ออบ

ใบสดยังเป็นส่วนประกอบในการจัดดอกไม้ จัดแจกัน ตกแต่งโต๊ะอาหาร ใช้ดับกลิ่นเหม็นอับในบ้าน ในครัว ในโรงรถ ในรถลดกลิ่นอับ โดยการใช้ใบเตยสดและใบเตยตากแห้ง

[น้ำใบเตย.jpg]